• หน้าแรก
  • บริการ
  • การบำรุงรักษา
  • เกร็ดความรู้และข้อแนะนำ

เกร็ดความรู้และข้อแนะนำ

คุณต้องการใช้บริการบำรุงรักษาจากฮุนไดหรือไม่ การตรวจเช็คเป็นประจำสำหรับการให้บริการต่างๆ เกร็ดความรู้และข้อแนะนำก่อนที่จะออกเดินทาง

เพื่อให้รถฮุนไดของคุณทำงานเหมือนใหม่ การตรวจสอบด้วยตนเองตามรายการต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

1. ไส้กรองอากาศ : Air filter

ไส้กรองอากาศ มีหน้า ดักฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ไม่ให้เข้าไปในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ซึ่งไส้กรองอากาศที่ใช้อยู่ในรถยนต์ฮุนไดจะเป็นไส้กรองอากาศแบบแห้ง ซึ่งทำจากกระดาษกรองพับเป็นครีบ ทำให้มีน้ำหนักเบาและไม่ยุ่งยากในการทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย?
ใช่ ฮุนไดขอแนะนำให้ตรวจเช็คสภาพของไส้กรองอากาศและเป่าไส้กรองอากาศทุกๆ 10,000 กม. หรือ ทุกๆ 6 เดือนและให้เปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่ ทุกๆ 40,000 กม. หรือ ทุกๆ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

ทำไมต้องทำตามคำแนะนำดังกล่าว?
เพราะในที่สุดแล้ว เมื่อมีการใช้งานไปนานๆไส้กรองอากาศจะเกิดการอุดตัน

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว?
หากไส้กรองอากาศสกปรกหรืออุดตันเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดอากาศเข้ากระบอกสูบลดลง เป็นผลให้ส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศไม่เหมาะสม (เช่นเชื้อเพลิงมากแต่อากาศไม่เพียงพอ) ทำให้การเผาไหม้ไม่สบูรณ์ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้รถของคุณจะสูญเสียกำลัง และหากขับขี่อยู่ในสภาวะนี้นานๆ ไฟเตือนรูปเครื่องยนต์ หรือ ไฟเตือน “ Check engine " อาจติดโชว์ขึ้นที่หน้าปัด

หากคุณละเลยในการเปลี่ยนไส้กรองอากาศเป็นเวลานาน เครื่องยนต์อาจหยุดการทำงานโดยสิ้นเชิง และความเสียหายหนักอาจเกิดขึ้นได้ หากไส้กรองเสื่อมสภาพจนเกิดการฉีกขาด ทำให้ไม่สามารถกรองสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขาดเล็กได้ จะส่งผลทำให้ผนังของกระบอกสูบเกิดการสึกหรอและเสียหายในที่สุด

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพหรือการเปลี่ยนไส้กรองอากาศตามระยะที่กำหนดหรือไม่?
หากขับขี่รถยนต์อยู่ในสภาวะที่ใช้งานหนัก เช่น การขับขี่ในสภาพพื้นที่ๆมีฝุ่นละอองเป็นจำนวนมาก หรือ การขับขี่ในสภาพที่หยุดและไป มากกว่า 50 % เช่นการขับขี่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรติดขัดและมีอุณหภูมิ สูงกว่า 320C ด้วยเหตุนี้จึงควรลดระยะเวลาในการตรวจเช็คภาพและเปลี่ยนไส้กรองใหม่ลงครึ่งนึงจากที่แนะนำไว้ข้างต้น



2. น้ำมันเกียร์

น้ำมันเกียร์เป็นของเหลวที่มีความลื่น ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นและหล่อเย็นสำหรับชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ทั้งหมดภายในเกียร์ รวมถึงความหนืดของน้ำมันเกียร์ ยังทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังงานจากเครื่องยนต์มาสู่เกียร์อีกด้วย

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ จะให้ผลดีมากหาก ทำการล้างระบบน้ำมันเกียร์ด้วยวิธีการ Flusher (การใช้น้ำมันเกียร์ใหม่ไล่น้ำมันเกียร์เก่าที่ตกค้างอยู่ภายในเกียร์) ซึ่งการล้างระบบเกียร์ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้น้ำมันเกียร์ใหม่ไหลเข้าไปแทนที่น้ำมันเกียร์เก่าที่ตกค้างอยู่ภายในเกียร์ได้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งดีกว่าการถ่ายน้ำมันเกียร์ออกโดยอาศัยแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว น้ำมันที่ใช้กับระบบส่งถ่ายกำลังมีหลายชนิดแตกต่างกัน น้ำมันเกียร์สำหรับเกียร์อัตโนมัติในบางคราวเรียกกันว่า น้ำมันเกียร์ “เขย่าขวัญ” ( shockingly transmission fluid) น้ำมันสำหรับเกียร์ธรรมดา มีใช้อยู่ด้วยกันหลายชนิด : น้ำมันเครื่องยนต์, น้ำมันเกียร์สำหรับเกียร์ ไฮปอยด์ (เกียร์ที่ใช้เฟืองประเภทเยื้องศูนย์มากกว่า 2.0 นิ้ว) หรือ แม้แต่น้ำมันหล่อลื่นของเกียร์อัตโนมัติในบางชนิด

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่ อย่างแน่นอน ไม่ว่ารถของคุณจะเป็นเกียร์ธรรมดา หรือ เกียร์อัตโนมัติ

เกียร์ธรรมดา
ฮุนไดแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุกๆ 40,000 กม.หรือ ทุกๆ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน หากขับขี่รถยนต์อยู่ในสภาวะที่ใช้งานหนักจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเกียร์เร็วกว่ารถยนต์ที่ใช้งานในสภาวะปกติ คือ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุกๆ 20,000 กม. หรือ 1 ปี
อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

เกียร์อัตโนมัติ
ฮุนไดแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุกๆ 40,000 กม.หรือ ทุกๆ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน หากขับขี่รถยนต์อยู่ในสภาวะที่ใช้งานหนักจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำเกียร์เร็วกว่ารถยนต์ที่ใช้งานในสภาวะปกติ คือ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุกๆ 20,000 กม. หรือ 1 ปีอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน


ทำไมต้องทำตามคำแนะนำดังกล่าว?

เกียร์ธรรมดา
สำหรับเกียร์ธรรมดา ปัญหาจากการเสื่อมสภาพของน้ำมันเกียร์มีไม่มากนัก แต่เกิดจากสิ่งปนเปื้อนในน้ำมันเกียร์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งปนเปื้อนในน้ำมันเกียร์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เฟืองเกียร์ขบประสานกัน ลูกปืนและเฟืองส่งกำลังสึกหรอ ทำให้มีเศษโลหะที่มีอนุภาคขนาดเล็กลอยปะปนอยู่ในน้ำมันเกียร์ และ เราทุกคนทราบดีว่าน้ำมันเกียร์ที่มีเศษโลหะที่มีอนุภาคขนาดเล็กปะปนอยู่นั้น ไม่สามารถหล่อลื่นได้ดีเท่ากับน้ำมันเกียร์ที่สะอาด

เกียร์อัตโนมัติ
ในขณะที่เกียร์อัตโนมัติทำงาน ความร้อนสะสมจะเกิดขึ้นมาก น้ำมันเกียร์จะขยายตัวและเสื่อมสภาพลง เหมือนกับเกียร์ธรรมดา ซึ่งในน้ำมันเกียร์อัตโนมัติจะมีสิ่งปนเปื้อนมาจากการสึกหรอของชิ้นส่วนในเกียร์อัตโนมัติในขณะที่มีการส่งถ่ายกำลังงาน หากสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ไม่ถูกถ่ายทิ้งออกไป จะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากคุณไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่กำหนด เกียร์ของคุณจะได้รับการหล่อลื่นจากน้ำมันเกียร์ที่มีเศษโลหะและสารปนเปื้อนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของเกียร์สั้นลง ผลที่ตามมาอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการซ่อมเกียร์ กล่าวคือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
สิ่งสำคัญก็คือต้องตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์อย่างสม่ำเสมอที่อยู่ระหว่างช่วงเวลาของการให้บริการ การปล่อยให้รถของคุณทำงานภายใต้สภาวะที่น้ำมันเกียร์อยู่ในระดับต่ำจนเกินไป อาจส่งผลให้การเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ไม่ถูกต้อง หรือ ไม่มีการขับเคลื่อนใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้อาจเป็นอัตรายกับชิ้นส่วนภายในเกียร์ของคุณอีกด้วย ซึ่งเกิดจากไม่ได้รับการหล่อลื่นอย่างเหมาะสม คุณอาจไม่ได้ยินเสียงใดๆ หรือ เบาะแสอื่นๆ ที่เกิดจากระดับน้ำมันเกียร์ต่ำเกินไป จนกระทั่งสายเกินไป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจเช็ค


นี่คือวิธีที่คุณจะตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ของคุณได้

เกียร์ธรรมดา
การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ธรรมดาอาจเป็นเรื่องยาก หากรถของคุณเป็นรถเกียร์ธรรมดา เราขอให้คุณสอบถามช่างของคุณ เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์ เมื่อรถของคุณ ขึ้นลิฟท์ในระหว่างการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

เกียร์อัตโนมัติแบบมีเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์
หากรถของคุณเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบมีเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์ ระวังอย่าสับสนระหว่างเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์กับเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่อง สำหรับรถยนต์ส่วนใหญ่ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติจะต้องดึงเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานและมีอุณหภูมิสูงขึ้นและคันเลื่อนเกียร์อยู่ในตำแหน่งจอด (Park) เราขอแนะนำให้คุณ ศึกษาเพิ่มเติมจาก คู่มือการใช้รถ อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์บางรายอาจมีขั้นตอนการตรวจเช็คที่แตกต่างกัน

เกียร์อัตโนมัติแบบไม่มีเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์
การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติแบบไม่มีเหล็กวัดระดับน้ำมันเกียร์ เป็นเรื่องยาก เนื่องจาก ในขณะที่ทำการตรวจเช็คจะต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำมันเกียร์ ซึ่งเมื่อถึงอุณหภูมิ ที่กำหนดให้คลายน้อต อ่างน้ำมันเกียร์ออก จะต้องมีน้ำมันเกียร์ ไหลออกมา ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ จะต้องดำเนินการจากพนักงานช่างที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเท่านั้นและจะดำเนินการตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์รวมถึงการรั่วซึม ทุกครั้งที่เข้ามารับบริการทุกๆ 10,000 กม.หรือ ทุกๆ 1 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ดังนั้น สิ่งที่คุณจะตรวจเช็คได้ด้วยตัวเอง คือการตรวจเช็คการรั่วซึมของระบบเกียร์อย่างสม่ำเสมอ หากตรวจพบว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น ให้นำรถเข้ามารับการตรวจเช็คได้จากศูนย์บริการรถยนต์ฮุนไดที่ได้รับการอนุมัติใกล้บ้านท่าน
ข้อมูลทางเทคนิค : น้ำมันเกียร์มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก น้ำมันเครื่องยนต์ เนื่องจาก น้ำมันเกียร์จะไม่ลุกไหม้ ดังนั้น หากน้ำมันเกียร์อยู่ในระดับต่ำ ค่อนข้างแน่นอนว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้นกับระบบเกียร์อัตโนมัติของคุณ



3. น้ำมันเบรก

น้ำมันเบรกใช้พื้นฐานจากน้ำมันไฮดรอลิกส์ไกลคอล (Glycol-based hydraulic) ซึ่งมีคุณสมบัติ “ดูดซัพความชื้น” ซึ่งหมายความว่ามันมีแนวโน้มที่จะดูดซัพความชื้นอยู่ตลอดเวลา (ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรเปิดฝากระปุกน้ำมันเบรก หรือ ฝาขวดน้ำมันเบรกทิ้งไว้) ความชื้นที่สะสมในน้ำมันเบรกส่งผลทำให้เกิดการกัดกร่อนภายในระบบเบรก นี่คือเหตุผลที่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด

น้ำมันเบรกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของจุดเดือดและคุณลักษณะอื่นๆของน้ำมัน น้ำมันเบรกชนิด DOT 3 หรือ DOT 4 เป็นที่นิยมใช้ในรถยนต์นั่งและรถบรรทุกขนาดเล็ก ดังนั้น จะต้องใช้น้ำมันเบรกเฉพาะที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระบุให้ใช้เท่านั้น

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
แน่นอนที่สุด ฮุนไดแนะนำให้ตรวจเช็คและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุกๆ 40,000 กม. หรือ ทุกๆ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
เนื่องจาก น้ำมันเบรกมีคุณสมบัติดูดซัพความชื้น และความชื้นที่สะสมในน้ำมันเบรกทำให้เกิดการกัดกร่อนภายในระบบเบรก ซึ่งความชื้นนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับระบบเบรกเมื่อ 10 ปี ก่อน แต่ระบบเบรกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ (ที่มีทั้งระบบ ABS และไม่มี) สนิมและเศษซากจากการกัดกร่อนอาจทำให้เกิดความเสียหายภายในระบบเบรกได้จำนวนมาก และอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่มีราคาแพงมาก น้ำมันเบรกจะเสื่อมสภาพจากการใช้งานได้ ซึ่งเกิดจากความร้อนสะสม ที่ถูกสร้างขึ้นจากภายในของระบบเบรก ดังนั้นคุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อไม่ให้รถของคุณเบรกไม่อยู่และไปชนท้ายรถบรรทุกได้

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากคุณละเลย การดูแลรักษาระบบเบรกเป็นระยะเวลานาน คุณอาจพบการรั่วไหลของน้ำมันเบรกเนื่องจากการกัดกร่อนของระบบเบรก ซึ่งมีลักษณะของการรั่วเป็นตามด เป็นผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง และท้ายที่สุดก็ทำให้ระบบเบรกของคุณล้มเหลวในที่สุด

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ควรตรวจสอบน้ำมันเบรก เมื่อคุณได้ตรวจสอบของเหลวต่างๆในรถของคุณ (เดือนละ1ครั้ง) หรือ ถ้าไฟเตือนระบบเบรคโชว์ขึ้นที่หน้าปัด เนื่องจากระดับน้ำมันเบรกต่ำจนเกินไป อาจบ่งบอกถึงการรั่วในระบบเบรก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต้องให้ความสนใจในทันที



4. เบรก

ผ้าเบรกและจานเบรก เป็นส่วนหนึ่งของระบบเบรกในรถยนต์ของคุณ จะติดตั้งอยู่ที่บริเวณด้านในของล้อในแต่ละล้อรถยนต์ ผ้าเบรกจะถูกผลักดันจากลูกสูบเบรก เพื่อสร้างแรงเสียดทานกับจานเบรก เป็นผลให้รถชลอตัวหรือหยุดการเคลื่อนที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงกดจากลูกสูบเบรก ระบบเบรกมีอยู่ 2 แบบ คือ ดิสก์เบรก และ ดรัมเบรก

ระบบเบรกแบบดิสก์เบรก : เป็นระบบเบรกที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันถูกออกแบบมาให้มีลักษณะการทำงานคล้ายๆกับระบบเบรกที่ใช้อยู่ในรถจักรยาน เมื่อคุณเหยียบแป้นเบรกในรถของคุณ จากนั้นแรงดันน้ำมันเบรกจะผลักดันลูกสูบเบรกที่ติดอยู่กับผ้าเบรก ให้เคลื่อนที่มาเพื่อสร้างแรงเสียดทานกับจานเบรกที่ติดอยู่กับล้อในแต่ละล้อ ทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลง

ระบบเบรกแบบดรัมเบรก : เมื่อคุณเหยียบเบรก แรงดันน้ำมันเบรกจะผลักดันลูกสูบเบรกให้ถ่างตัวออกเพื่อดันผ้าเบรกให้สร้างแรงเสียดทานกับดรัมเบรกที่ติดตั้งอยู่กับล้อในแต่ละล้อ ทำให้รถเคลื่อนที่ช้าลง

ทั้ง 2 ระบบถูกทำงานโดยการสร้างแรงเสียดทาน ดังนั้น เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง คาดว่าชิ้นส่วนในระบบเบรกมีการสึกหรอ คำถามคือพวกมันสึกหรออย่างไรและสึกหรอไปเท่าใด จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ นั่นเป็นสิ่งที่การบริการจะตอบคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับ : การสึกหรอของชิ้นส่วนในระบบเบรก และ ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
แน่นอนที่สุด ฮุนไดแนะนำให้ตรวจเช็คสภาพในและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุกๆ 30,000 กม. หรือ ทุกๆ 1 ปี 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
เหตุผลที่แนะนำให้คุณเข้ารับการบริการนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเบรกในรถของคุณเสียหาย จนทำให้รถของคุณไปชนเข้ากับรถบรรทุกได้

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากละเลยการบำรุงรักษาระบบเบรก เป็นระยะเวลานานๆ ระบบเบรกในรถคุณจะเกิดความเสียหายโดยเฉพาะกับชิ้นส่วนที่มีราคาแพง ตัวอย่างเช่น จานเบรก,ดรัมเบรก,คาลิเปอร์เบรก ดังนั้น จึงควรจะดำเนินตรวจเช็คและบำรุงรักษาระบบเบรกของคุณ ก่อนที่มันจะเสีย

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
เลขไมล์หรืออายุรถของคุณ แนะนำให้ดำเนินการตามตารางการบำรุงรักษาจากยริษัทผู้ผลิต หรือ สังเกตเห็นอาการต่อไปนี้เมื่อคุณเบรก

ไฟเตือนระบบเบรกกระพริบ เมื่อคุณเบรก
มีเสียงดังผิดปกติในขณะเบรก
มีอาการเบรกสะท้านที่แป้นเบรก เมื่อเหียยบเบรก
พวงมาลัยสั่น
ระยะเบรกมากขึ้น
รถมีอาการดึงไปด้นข้าง เมื่อเหยียบเบรก

ระบบเบรกของคุณอาจต้องมีการซ่อมบำรุง ควรนัดหมายกับศูนย์บริการรถยนต์ฮุนไดที่ได้รับการอนุมัติ ใกล้บ้านท่าน



5. น้ำหล่อเย็น

น้ำหล่อเย็นเป็นของเหลวที่ดูดซับความร้อนจากเครื่องยนต์และกระจายผ่านหม้อน้ำ การบำรุงรักษาน้ำหล่อเย็นเกี่ยวข้องกับ การถ่ายน้ำหล่อเย็น หรือ เปลี่ยนน้ำหล่อเย็นในระบบใหม่ ด้วยน้ำที่สะอาด

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่ การระบายน้ำออกจากระบบน้ำหล่อเย็นและเติมน้ำที่สะอาดจะช่วยจะขจัดสิ่งสกปรกและเศษตะกรันที่อาจทำให้เกิดการอุดตันของระบบน้ำหล่อเย็นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนสูงเกิน ฮุนไดแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำในระบบหล่อเย็นทุกๆ 40,000 กม. หรือ ทุกๆ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
เนื่องจากใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน น้ำหล่อเย็นจะยุบตัวลง ที่สำคัญที่สุดคือ การใช้น้ำยาหม้อน้ำที่มีสารยับยั้งการเกิดสนิม ในช่องทางเดินน้ำขนาดเล็กของเครื่องยนต์และรังผึ้งหม้อน้ำที่เสี่ยงต่อการเกิดสนิม แม้จะมีสารยับยั้งการเกิดสนิมในระบบน้ำหล่อเย็นแล้วก็ตาม การกัดกร่อนบางอย่างและเศษสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ในระบบน้ำหล่อเย็น ย่อมเกิดขึ้นได้

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ทำตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากสารยับยั้งการเกิดสนิมของน้ำยาหม้อน้ำ เกิดเสื่อมสภาพลงจนขาดคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดสนิม จะทำให้เกิดสนิมในระบบน้ำหล่อเย็นขึ้นได้ ซึ่งแหล่งที่มาของสนิมในระบบน้ำหล่อเย็น ที่มีมากที่สุดคือ เครื่องยนต์

ในเวลานี้เศษของสนิมเหล่านี้จะอุดตันทางเดินเล็ก ๆ ภายในหม้อน้ำและฮีทเตอร์ ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ของคุณเกิดความร้อนสูงมากเกินไป เมื่อเครื่องยนต์มีความร้อนสูงมากเกินไป นั่น คือ คุณจะต้องจ่ายค่าโบนัสก้อนโตให้กับพนักงานช่างเพื่อซ่อมเครื่องยนต์ของคุณนั่นเอง

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นเป็นระยะๆ คู่มือการใช้รถของคุณจะแนะนำถึงช่วงเวลาที่คุณจะทำการตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็น หากคุณตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น ขณะที่เครื่องยนต์เย็น ระดับน้ำหล่อเย็นควรอยู่เท่ากับหรือสูงกว่าตำแหน่ง ต่ำสุด ( Minimum ) โดยสังเกตุดูที่กระปุกน้ำหล่อเย็นในรถของคุณ และ หากคุณตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นของคุณในขณะที่เครื่องยนต์ร้อน ระดับน้ำหล่อเย็นควรอยู่ต่ำกว่าเส้น สูงสุด (Maximum) การที่น้ำหล่อเย็นในระบบหายไป อาจเกิดจากการรั่วมาจากภายนอกและภายในของระบบน้ำหล่อเย็นได้ ซึ่งการรั่วจากภายในจะมีราคาค่าซ่อมที่แพงกว่า แต่อย่างไรก็ดีทั้ง 2 ปัญหานี้จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการทำงานภายใต้ระดับน้ำหล่อเย็นที่ต่ำเกินไป หรือ ไม่มีน้ำในระบบหล่อเย็น อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายอย่างหนักและนำไปสู่การซ่อมแซมเครื่องยนต์ที่มีราคาค่าซ่อมที่แพงมาก



6. สายพานหน้าเครื่อง

นี่คือการตรวจเช็คสภาพสายพาน หรือ การเปลี่ยนสายพาน ในห้องเครื่องยนต์ รถทุกคันมีปั๊มน้ำ,ไดชาร์จ, ปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ และ คอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศ ซึ่งทั้งหมดถูกขับโดยสายพาน

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
แน่นอน โดยปกติแล้วอายุการใช้งานของสายพานจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 55,000 กม. ขึ้นอยู่กับสภาพการขับขี่

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
สายพานที่ใช้อยู่ในรถยนต์ของคุณ ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดอายุการใช้งานของตัวรถ และจะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งานโดยผิวของสายพานจะมีรอยร้าว,หลุดร่อน และ ขาดในที่สุด

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากสายพานหน้าเครื่องยนต์ในรถของคุณ เป็นแบบแยกขับอุปกรณ์ ที่อยู่หน้าเครื่องยนต์ และ หากสายพานตัวใดตัวหนึ่งขาดไป อุปกรณ์ตัวที่ถูกสายพานขับอยู่นั้นก็จะไม่ทำงาน เช่น ไดชาร์จไม่ทำงาน จึงไม่สามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้ ทำให้แบตเตอรี่ไม่มีไฟและเครื่องยนต์ดับ หากรถยนต์ของคุณเป็นแบบสายพานขับรวม หากสายพานชำรุดจนขาด ดังนั้น อุปกรณ์ทุกตัวที่ถูกสายพานนี้ขับอยู่ ก็จะไม่ทำงานทั้งหมด ได้แก่ ไดชาร์จ,ปั๊มน้ำมันเพาเวอร์,คอมเพรซเซอร์ และ ปั๊มน้ำ ซึ่งครื่องยนต์อาจเสียหายได้ อันเนื่องมาจาก ความร้อนขึ้นสูง

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ระหว่างการตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนด คุณควรตรวจเช็คสภาพสายพานด้วยการตรวจดูรอยร้าวบนผิวของสายพาน และ หากคุณได้ยินเสียงร้องดังจี๊ดๆในห้องเครื่องยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณสตาร์ทเครื่องยนต์ในช่วงเช้าที่อุณหภูมิต่ำๆ หรือ ในช่วงที่คุณหมุนพวงมาลัยหักสุดขณะเลี้ยว สายพานหน้าเครื่องยนต์ของคุณอาจหย่อนจนเกินไป หากพบความผิดปกติดังกล่าว ให้นำรถเข้ามาตรวจเช็ค ที่ศูนย์บริการรถยนต์ ฮุนได ที่ได้รับบการอนุมัติใกล้บ้านท่าน



7. การประหยัดเชื้อเพลิง

รถยนต์ใหม่ต้องใช้งานในช่วง Run-in (การเดินเครื่องยนต์ในสภาพรถใหม่ก่อนการใช้งานปกติ ) ก่อนเพื่อให้การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในขณะขับขี่ มีความเสถียรมากขึ้น อย่างน้อย 3,000 กม. ดังนั้น จึงควรตรวจสอบการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังจากการขับขี่ในช่วง Run-in ไปแล้ว
การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของรถยนต์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับสภาพการขับขี่และพฤติกรรมในการขับขี่ด้วย
การขับขี่ในสภาพที่ไปและหยุดนิ่ง หรือ เครื่องยนต์ทำงานในสภาพรอบเดินเบา ขณะจอดติดไฟแดง จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมาก
การเร่งความเร็วและเบรกโดยไม่จำเป็น การเร่งความเร็วจะส่งผลทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเร่งความเร็วและเบรกอย่างฉับพลัน รวมไปถึงการขับขี่ด้วยความเร็วสูง
ปริมาณการปลอมปนในเชื้อเพลิง หรือ เชื้อเพลิงจากหัวจ่ายที่ปั๊มเชื้อเพลิงมีปริมาณน้อย จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงลดลงด้วย
แรงดันลมยางอ่อนจะส่งผลให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น รักษาระดับแรงดันลมยางตามที่กำหนด
ไส้กรองอากาศอุดตัน, คลัทช์หมด,การปรับจูนเครื่องยนต์ที่ไม่เหมาะสมเป็นผลให้ระดับมลพิษสูงและทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
ควรนำรถยนต์ของท่านเข้ารับบริการตามตารางการบำรุงรักษาที่ระบุไว้ในคู่มือการรับประกัน / บริการ เป็นระยะๆ



8. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์และไส้กรองน้ำมันเครื่องยนต์ หมายถึงการถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ของเก่าอออกและแทนที่ด้วยการเติมน้ำมันเครื่องยนต์ใหม่เข้าไป รวมถึงไส้กรองน้ำมันเครื่องยนต์ตัวใหม่ด้วย

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
โดยทั่วไปแล้วใช่ ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ให้กับรถยนต์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่คุณสามารถทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าซ่อมเครื่องยนต์จำนวนมากให้กับช่างซ่อมของคุณในภายหลัง อย่างไรก็ตาม มีการถกเถียงกันในเรื่องความถี่ที่ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างในการทำงาน เช่น สภาพการขับขี่,สภาพของเครื่องยนต์และอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ สภาพแวดล้อมภายนอกในขณะขับขี่,การขับขี่ในสภาพที่หยุดและไปบนทางหลวง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลทางวิทยาศาตร์ที่ไม่มีความแน่นอน
ฮุนไดขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ทุกๆ 10,000 กม. หรือ ทุกๆ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ซี่งระยะเวลาดังกล่าว มันอาจจะเร็วเกินไปสำหรับลูกค้าหลายๆท่านและช้าไปสำหรับสำหรับลูกค้าบางท่าน แต่สำหรับส่วนใหญ่การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ ทุกๆ 10,000 กม. หรือ ทุกๆ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน หรือ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์และไส้กรองให้เร็วขึ้น คือ ทุกๆ 5,000 กม. หรือ ทุกๆ 3 เดือน สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานหนัก จะช่วยให้เครื่องยนต์ของคุณมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
น้ำมันเครื่องยนต์จะเกิดการสลายตัวเนื่องจากการหล่อลื่นภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ น้ำมันเครื่องยนต์จะมีประสิทธิภาพในการหล่อลื่นน้อยลงและเป็นผลให้ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่มีการเคลื่อนที่มีการเสียดสีกัน จนการเกิดการสึกหรอในที่สุด น้ำมันเครื่องยนต์ยังมีสารเติมแต่งที่สามารถป้องกันการเกิดกรดในน้ำมันเครื่องยนต์ และเมื่อเวลาผ่านไป สารเติมแต่งเหล่านี้จะเสื่อมสภาพลงตามการใช้งานและไม่สามารถป้องกันการเกิดกรดในน้ำมันเครื่องได้

ท้ายที่สุด น้ำมันเครื่องยนต์สามารถดูดซับน้ำ,ฝุ่นและเขม่าจากการเผาไหม้ จนในที่สุดน้ำมันเครื่องยนต์เกิดการอิ่มตัวจากการดูดซับสิ่งเหล่านี้ และไม่สามารถดูดซับได้อีกต่อไป เป็นผลให้ ยังคงมีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ในน้ำมันเครื่องที่ไม่สามารถดูดซับได้และยังทำให้เกิดการกัดกร่อนในระบบอีกด้วย

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
เครื่องยนต์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้นานเท่าที่ควร น้ำมันเครื่องยนต์ทำหน้าที่หลายอย่างและน้ำมันเครื่องยนต์ที่สะอาด จะทำหน้าที่ได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องยนต์ที่สกปรก ราคาน้ำมันเครื่องค่อนข้างถูกและการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 10,000 กม. หรือ ทุกๆ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน หรือ ทุกๆ 5,000 กม. หรือ ทุกๆ 3 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานหนัก ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้เงื่อนไขการรับประกันที่ถูกมาก เมื่อเทียบกับการซ่อมแซมทั่วๆไป

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ใช่ คุณควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องทุกๆ 200 -300 กิโลเมตร เมื่อรถยนต์ของคุณจอดอยู่บนพื้นที่ราบ จากนั้นให้ดึงเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องขึ้นมาและเช็ดด้วยผ้าสะอาดและใส่กลับเข้าไปใหม่ ให้ดึงเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องจะดีมากหากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ใกล้กับ ต่ำแหน่งสูงสุด ( Max ) หากระดับน้ำมันเครื่องอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด (Low) หรือ ต่ำกว่านั้น นั่นหมายความว่าระดับน้ำมันเครื่องที่อยู่ในอ่างน้ำมันเครื่องต่ำเกินไป ควรเติมน้ำมันเครื่องเพิ่มเข้าไปประมาณ1 ใน 4 ของความจุน้ำมันเครื่อง หากอยู่ระหว่างเครื่องหมายสองเครื่องหมายนี้ คุณสามารถเติมน้ำมันเครื่องเพิ่มเข้าไปให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุดได้
อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่า น้ำมันเครื่องใหม่ที่เติมเข้าไปจะไหลได้ช้าเนื่องจากน้ำมันเครื่องมีอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องอาจไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงระดับน้ำมันเครื่องที่คุณเพิ่งเติมเข้าไปได้อย่างเที่ยงตรงในทันที ดังนั้น คุณควรประเมิณระดับน้ำมันเครื่องจากเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องในครั้งแรกและตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องอีกครั้งในภายหลัง หรือ ตรวจวัดอีกครั้งในวันถัดไป เพื่อให้แน่ใจว่า ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ใกล้กับตำแหน่ง สูงสุด (Max) หากน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับต่ำ เราขอแนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องตามเกรดที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้รถของคุณ หากคุณต้องเติมน้ำมันเครื่อง อยู่บ่อยๆ อย่าลืมรายงานเกี่ยวกับปัญหานี้ให้ช่างที่ศูนย์บริการทราบ รถของคุณอาจมีน้ำมันเครื่องรั่วไหลออกสู่ภายนอก หรือ มีการรั่วไหลเกิดขึ้นจากภายในเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าอาจต้องเสียเงินไปกับค่าซ่อมเครื่องยนต์ที่แพงมาก

ในความเป็นจริง เครื่องยนต์ทุกตัวเริ่มต้นด้วยการเผาผลาญ ดังนั้นต้องหมั่นตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องเป็นครั้งคราว ซึ่งคุณอาจหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ของคุณได้ในวันหนึ่ง



9. น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์

น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายกำลังในระบบบังคับเลี้ยว การบำรุงรักษาจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ และ การล้างระบบน้ำมันพวงมาลัยเพารเวอร์ด้วยการ Flushing (การใช้น้ำมันใหม่ไล่น้ำมันเก่าที่ตกค้างอยู่ภายในพวงมาลัยเพาเวอร์) ซึ่งการล้างระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้น้ำมันใหม่ไหลเข้าไปแทนที่น้ำมันเก่าที่ตกค้างอยู่ภายในพวงมาลัยเพาเวอร์ได้ละเอียดมากขึ้น

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
แน่นอนที่สุด ฮุนไดฯแนะนำให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเพาเวอร์ ทุกๆ 50,000 กม. หรือ ทุกๆ 2 ปี 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ซึ่งน้ำมันเพาเวอร์เป็นส่วนประกอบที่ถูกที่สุดในระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ของคุณและการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์สามารถยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
เมื่อเวลาผ่านไป ซีล, โอริง และ ส่วนประกอบภายในของระบบบังคับเลี้ยวจะเกิดการสึกหรอ เป็นผลให้มีเศษวัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อยปะปนอยู่ในน้ำมันเพาเวอร์ ซึ่งเป็นการบังคับให้ปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น (นั่นคือต้องปั๊มเศษวัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อยด้วย แทนที่จะปั๊มน้ำมันเพาเวอร์แต่เพียงอย่างเดียว) และเกิดความเสียหายกับปั๊มน้ำมันเพาเวอร์และระบบบังคับเลี้ยวในที่สุด

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
ในที่สุดคุณก็ต้องเสียปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ของคุณ มันจะต้องถูกเปลี่ยนเป็นของใหม่ด้วยราคาที่แพงมาก และคุณไม่สามารถขับรถที่ติดตั้งพวงมาลัยเพาเวอร์ได้เมื่อระบบพวงมาลัยเพาเวอร์ล้มเหลว นอกจากนี้คุณยังอาจทำให้ชุดบังคับเลี้ยวเกิดความเสียหาย ซึ่งคุณอาจจะต้องนำเอาเงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย มาจ่ายแทน

มีการบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
หากคุณได้ยินเสียงหอน ขณะหมุนพวงมาลัย คุณควรจะทำการตรวจเช็คระบบพวงลัยเพาเวอร์ของคุณ ซึ่งปั๊มน้ำมันเพาเวอร์ของคุณอาจเกิดความเสียหายได้

นอกจากนี้หากคุณสังเกตุเห็นว่ามีการรั่วไหลใดๆเกิดขึ้น คุณควรตรวจสอบระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์และตรวจเช็คให้ระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์อยู่ในตำแหน่งสูงสุด การรั่วไหลของน้ำมันเพาเวอร์ก็จะส่งผลให้ปั๊มน้ำมันเพาเวอร์เสียหายด้วยเช่นกัน



10. การสลับยาง

วัตถุประสงค์ของการสลับยาง ก็เพื่อให้ยางทั้ง 4 เส้นมีอายุการใช้งานที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากยางจะมีการสึกหรอที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะยางที่อยู่ในล้อที่ใช้ขับเคลื่อนจะมีการสึกหรอมาก หากเป็นรถเก๋ง หรือ รถขนาดกลางทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นรถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า ยางคู่หน้าจึงสึกหรอมากกว่ายางล้อหลัง

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่ เราขอแนะนำให้มีการสลับยาง โดยเอายางคู่หลังมาไว้ข้างหน้า ยางคู่หลังที่เดิมจะยังคงมีดอกยางเหลือเยอะกว่า ก็จะทำหน้าที่ของยางได้ดีกว่าเดิม ควรสลับยางวนกันไปแบบนี้จนครบทั้ง 4 เส้น โดยบริษัทรถยนต์ ฮุนได แนะนำให้มีการสลับยางทุกๆ 10,000 – 15,000 กม. หากเป็นไปได้ให้ตรวจเช็คศูนย์ล้อด้วยจะดีมาก

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
การสลับยางรถยนต์ของคุณ จะทำให้อายุการใช้งานของยางมากขึ้น เพราะยางจะมีการสึกหรอที่เท่ากันทั้ง 4 ล้อ

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
ไม่มีความเลวร้ายใดๆที่จะเกิดขึ้น แต่ระยะทางในการใช้งานยางรถของคุณอาจน้อยลง

การบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ไม่มี



11. หัวเทียน

เป็นอุปกรณ์เล็กๆที่อยู่ในฝาสูบทำหน้าที่จุดประกายไฟแรงเคลื่อนสูงบริเวณปลายเขี้ยวหัวเทียน ในขณะที่ลูกสูบเลื่อนขึ้นก่อนถึงศูนย์ตายบน เล็กน้อยจะทำให้กำลังอัดในห้องเผาไหม้ที่มีส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศเพิ่มสูงขึ้นในขณะนั้น เมื่อสัมผัสกับประกายไฟจากเขี้ยวหัวเทียน จะส่งผลให้เกิดการระเบิด เผาไหม้กำลังอัดที่มีส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศอย่างรุนแรง ผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลงสู่ศูนย์ตายล่าง ซึ่งเราเรียกจังหวะการทำงานนี้ว่า จังหวะกำลังงาน (Power) ซึ่งหากหัวเทียนเสื่อมสภาพลง ดังนั้นประสิทธิภาพในการจุดประกายไฟที่ปลายเขี้ยวหัวเทียนก็ลดลง ส่งผลให้เผาไหม้ได้ไม่ดี กำลังของเครื่องยนต์ก็จะลดลง ซึ่งในการบริการนี้ จะต้องมีการตรวจเช็คสภาพและมีการเปลี่ยนหัวเทียนใหม่

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่ ฮุนไดแนะนำให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ทุกๆ 40,000 กม. หรือ 2 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
เครื่องมือวัด คือ เครื่องมือพิเศษที่ใช้วัด ช่องว่างระหว่างเขี้ยวหัวเทียนกับไส้หัวเทียน (อีเล็คโทรด) และหากจำเป็นก็สามารถใช้เครื่องมือปรับระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน ให้อยู่ในค่าที่กำหนดได้ การจุดประกายไฟของหัวเทียน จะเกิดขึ้นภายในช่องว่างระหว่างโลหะชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้น เรียกว่า ไส้หัวเทียน ( อีเล็คโทรด) และ เขี้ยวหัวเทียน เมื่อมีการจุดประกายไฟเกิดขึ้นที่ช่องว่างระหว่างเขี้ยวหัวเทียนกับอีเล็คโทรด หนึ่งครั้งหรือมากว่านั้น ทำให้โลหะทั้งสองตัวนี้จะถูกเผาไหม้ตลอดที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ ซึ่งการจุดประกายไฟที่ดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นหลายร้อยครั้งในทุกนาที เมื่อเวลาผ่านไปช่องว่างระหว่างปลายโลหะทั้ง 2 จะกว้างขึ้น นอกจากนี้หัวเทียนของคุณยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้จุดประกายไฟได้ไม่ดี เช่น มีเขม่าจับอยู่ที่ปลายหัวเทียนมากเกินไป นี่คือตัวบ่งบอกว่าการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
เครื่องยนต์ของคุณจะเริ่มทำงานได้ไม่ดี และ อัตราเร่งจะลดลงรวมถึงปริมาณการปล่อยก๊าซไอเสียจะมีมากขึ้น

การบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ฮุนไดแนะนำให้ทำการตรวจเช็คสภาพหัวทียนทุกๆ 10,000 – 20,000 กม. ขึ้นอยู่กับสภาพในการขับขี่

ผู้ผลิตจำนวนมากมีการกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนหัวเทียนที่ยาวนานมาก คือ 60,000 – 100,000 กม. หากไม่เคยมีการถอด-ประกอบหัวเทียนเลย จนกว่าจะมีการเปลี่ยนหัวเทียนตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งคุณอาจจะพบว่ามันถอดออกมาได้ยากมาก หรือ เป็นไปไม่ได้ที่จะถอดออกมาจากฝาสูบได้เลย นอกจากนี้หากเครื่องยนต์ในรถของคุณทำงานได้ไม่ดี คุณจำเป็นจะต้องตรวจสอบสภาพของสายหัวเทียนและปลั๊กหัวเทียน ซึ่งสายหัวเทียนและปลั๊กหัวเทียนของคุณอาจมีค่าความต้านทานมากเกินไปเป็นผลให้ไฟแรงเคลื่อนสูง มากระโดดลงกราวด์ที่เขี้ยวหัวเทียนได้ไม่สะดวกเป็นผลให้เครื่องยนต์เผาไหม้ไม่สมบูรณ์และมีปริมาณการปล่อยก๊าซไอเสียมากขึ้น



12. สายพานราวลิ้น

คือสายพานที่มีความสำคัญที่สุดในรถยนต์ของคุณ สายพานนี้เป็นสายพานยางที่มีรอยหยัก เรียกว่าสายพานราวลิ้น สายพานนี้ช่วยให้เพลาข้อเหวี่ยงขับเพลาลูกเบี้ยวเพื่อหมุนเปิด/ปิดวาล์วไอดีและไอเสียตามจังหวะ หากไม่มีสายพานนี้ เครื่องยนต์จะไม่สามารถทำงานได้

ในระหว่างการตรวจเช็คสภาพ พนักงานช่างจะต้องตรวจเช็คสภาพของสายพานราวลิ้น โดยตรวจเช็คดูว่าสายพานมีการแตกร้าวหรือไม่ หรือ หย่อนมากเกินไป นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำมันเครื่องจากซีลที่อยู่ติดกัน ซึ่งอาจทำให้สายพานเกิดความเสียหายและอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
มันสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมใหญ่ของคุณและรักษาเครื่องยนต์ของคุณให้ทำงานในสภาพที่เหมาะสม

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากคุณไม่ได้ตรวจเช็คสภาพสายพานราวลิ้นของคุณและเปลี่ยนสายพานใหม่ตามความจำเป็น มันอาจจะแตกหักในช่วงเวลาไม่เหมาะสม
หากสายพานราวลิ้นขาด หรือ กระโดดจาก ซึ่งอาจทำให้วาล์วกระแทกกับหัวลูกสูบได้ เนื่องจากช่วงเวลาการเปิด/ปิดวาล์วกับการเลื่อนขึ้นลงของลูกสูบ ไม่สัมพันธ์กัน

การบำรุงรักษาที่จำเป็นที่อยู่ระหว่าง การตรวจเช็คสภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ?
ฮุนไดแนะนำให้เปลี่ยนสายพานราวลิ้นและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องทุกๆ 10,000 กม. หรือ 5 ปี อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน และ อย่าลืมว่านี่เป็นการเปลี่ยนที่ 200,000 กม. หรือ 10 ปี, 300,000 กม. หรือ 15 ปี ด้วย เป็นต้น หากคุณได้ยินเสียงดังเสียดสีมาจากภายในเครื่องยนต์ อาจเป็นผลมาจากสายพานหลวมคลอนจนทำให้สายพานกระทบกับฝาครอบสายพานราวลิ้น เพื่อตรวจสอบว่าสายพานของคุณมีความตึงที่เหมาะสมแลอยู่ในสภาพที่ดี หรือ ขอให้ช่างของคุณตรวจสอบทุกครั้งที่นำรถเข้ามาตรวจเช็คสภาพ



13. การตรวจเช็คลมยาง

แรงดันลมยาง เป็นตัวชี้วัดปริมาณอากาศในยางรถยนต์ มีหน่วยเป็น ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) การตรวจวัดแรงดันลมยางมีความจำเป็นต้องใช้ เกจวัดแรงดันลมยาง อย่างน้อยคุณควรตรวจวัดทุกเดือน

ควรทำบริการนี้เมื่อได้รับการแนะนำใช่มั้ย ?
ใช่…แน่นอนที่สุด

ทำไมจึงต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว?
การมีแรงดันลมยางที่เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญ ด้านความปลอดภัย ซึ่งถัดจากเบรกแล้ว ยางถือเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดในรถของคุณ แรงดันลมยางที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้การเค้าโค้ง ,การเบรกและการทรงตัวได้ไม่ดี และในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากแรงดันลมยางไม่ถูกต้องอาจนำไปสู่ความเสียหายของยางเช่น ยางระเบิดในขณะขับขี่ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ แรงดันลมยางที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลต่อความสะดวกสบายในการขับขี่ การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและอายุการใช้งานของยาง

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ?
หากแรงดันลมยางสูงเกินไป จะทำให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นถนนได้ไม่ดี ดังนั้น รถของคุณจะเด้งไปมาบนพื้นถนน เป็นผลให้การขับขี่ไม่สะดวกสบาย จนทำให้คุณต้องหยุดพักเพื่อผ่อนคลายจากการขับขี่
หากแรงดันลมยางต่ำเกินไป จะทำให้ยางสัมผัสกับพื้นผิวถนนมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เพิ่มแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวถนนและยาง เป็นผลให้ยางของคุณไม่เพียงแต่สึกหรอเร็วก่อนเวลาอันควร แต่ยังส่งผลให้ยางมีความร้อนสะสมมากขึ้น ความร้อนสูงเกินไปอาจทำให้ดอกยางฉีกขาดและอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าแรงดันลมยางของคุณต่ำเกินไปคือ เสียงดังขณะเลี้ยวเลี้ยว
ทำไม ? จึงต้องตรวจสอบแรงดันลมยาง แม้ว่ายางของคุณไม่รั่ว เนื่องจากแรงดันลมยางเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิภายนอก แรงดันลมยางจะลดลงประมาณ 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว สำหรับอุณหภูมิภายนอกที่ลดลงทุกๆ 100C

จะตรวจสอบแรงดันลมยางให้ถูกต้องได้อย่างไร ?
หลายคนตรวจสอบแรงดันลมยาง ที่ระบุไว้บนยางของคุณ แต่ที่จริงแล้วเป็นการดูตำแหน่งค่าแรงดันลมยางที่ผิด ค่าแรงดันลมยางที่แสดงอยู่บนแก้มยาง คือแรงดันลมยางสูงสุดที่ยางจะสามารถรองรับได้ ไม่ใช่แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่แนะนำเมื่อใช้งานอยู่ในรถของคุณ แรงดันลมยางที่แนะนำมักจะต่ำกว่าค่าแรงดันลมยางสูงสุด ที่ระบุไว้ที่บนแก้มยางของคุณ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบค่าแรงดันลมยางที่แนะนำจากคู่มือการใช้รถของคุณและเมื่อทราบระดับแรงดันลมยางที่แนะนำจากบริษัทผู้ผิลิตแล้ว คุณจำเป็นต้องมีเกจวัดระดับแรงดันลมยางแบบเข็ม หรือแบบดิจิตอลที่มีคุณภาพดีและมีความเที่ยงตรงสูง เพื่อการตรวจวัดระดับแรงดันลมยางได้ถูกต้อง

เมื่อไรที่คุณจะต้องตรวจวัดระดับแรงดันลมยาง ?
คุณควรตรวจวัดระดับแรงดันลมยางในขณะที่ ยางมีอุณหภูมิต่ำ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องย้ายรถของคุณไปยังสถานที่ๆอุณหภูมิต่ำเพื่อจะทำการตรวจวัดระดับแรงดันลมยางของคุณ อุณหภูมิต่ำในที่นี่หมายถึงระดับอุณหภูมิลมยางของคุณต่ำลงเท่ากับอุณหภูมิของอากาศภายนอก คุณสามารถตรวจวัดระดับแรงดันลมยางของคุณ ได้ในทุกช่วงเวลาของวัน ตราบเท่าที่ยางของคุณหยุดนิ่งอยู่ไม่กี่ชั่วโมง หรือ ขับขี่ด้วยระยะทางสั้นๆเพียงไม่กี่กิโลเมตร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คุณสามารถขับรถไปยังปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงได้ห่างออกไปเพียงไม่กี่ช่วงตึก แต่หากคุณขับรถไปบนถนนทางหลวงนานนับชั่วโมง จะทำให้อุณหภูมิลมยางสูงขึ้น และทำให้การวัดระดับแรงดันลมยางได้ไม่ถูกต้อง เมื่อคุณวัดระดับแรงดันลมยางของคุณ อย่าลืมวัดระดับแรงดันลมยางทั้ง 4 ล้อ หากคุณวัดระดับแรงดันลมยางของคุณได้ตามค่ากำหนดเท่ากันเพียงแค่ 3 ล้อ ไม่ได้ความว่าระดับแรงดันลมยางในล้อที่ 4 จะได้เท่ากันกับล้อทั้ง 3 ล้อ ดังนั้นจึงควรตรวจวัดให้ครบทั้ง 4 ล้อ

สุดท้าย คุณควรตรวจวัดระดับแรงดันลมยาง สำหรับยางอะไหล่ในรถของคุณ อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อรองรับการใช้งานไว้กรณีฉุกเฉินเช่น ยางแตกขณะขี่ จะทำให้คุณสามารถนำยางอะไหล่เปลี่ยนแทนยางที่แตกได้ในทันที